โครงการ ‘รักษ์ภูผามหานที’

ฟื้นน้ำ สร้างป่า ดำเนินงานมากว่า 20 ปี อาทิ โครงการ ‘รักษ์ภูผามหานที’

ถ่ายทอดแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนให้ชุมชน นำไปปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้มีน้ำกิน น้ำใช้ น้ำทำเกษตรตลอดปี พร้อมจับมือกับชุมชนดูแลระบบนิเวศให้สมบูรณ์และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยตั้งเป้าหมายปลูก ฟื้นฟู อนุรักษ์ป่า 3 ล้านไร่ในปี 2593 ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 5 ล้านตันต่อปี พร้อมเดินหน้าสู่“องค์กรแห่งโอกาส” (Organization of possibilities) และร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างการเปลี่ยนแปลงขององค์กรและเป็นโอกาสของคน ที่มีไอเดียหรือสนใจสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเร่งปัญหาโลกเดือดที่เป็นวิกฤตเร่งด่วนของโลก โดยการเปิด โอกาสเปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรม เปลี่ยนแพสชันให้เป็นจริงผ่านโครงการ และกิจกรรมต่างๆ อาทิ

พัฒนาอาชีพมั่นคง

พัฒนาทักษะอาชีพ ให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน อาทิ โครงการ ‘พลังชุมชน’ พัฒนาศักยภาพชุมชน แก้จนด้วยความรู้คู่คุณธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าท้องถิ่นมีอัตลักษณ์และตอบโจทย์ตลาด จนถึงปัจจุบันสร้างอาชีพไปแล้ว 4,942 คน สร้างรายได้เพิ่มกว่า 4-5 เท่า เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง 24 จังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด อาทิ โครงการสุภาพบุรุษนักขับของ ‘โรงเรียนทักษะพิพัฒน์’ จัดหลักสูตรฝึกอบรมขับรถบรรทุกให้ผู้ว่างงานเป็นพนักงานขับรถบรรทุกมืออาชีพ  ‘แพลตฟอร์มคิวช่าง’ เปิดศูนย์ฝึกอบรมช่าง Q-CHANG ACADEMY เพื่อพัฒนาทักษะและยกระดับอาชีพช่างในด้านต่าง ๆ

 

ส่งเสริมสุขภาวะ

สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงระบบสาธารณสุข อาทิ โครงการ ‘แพทย์ดิจิทัล ดูแลผู้ป่วยทางไกล’ ใช้นวัตกรรม DoCare ระบบ Tele-monitoring และ Telemedicine ของเอสซีจี ดูแลผู้ป่วยทางไกลด้วยระบบติดตามสุขภาพ เก็บข้อมูลอย่างแม่นยำและต่อเนื่อง พร้อมระบบปรึกษาแพทย์ทางไกล ผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลจึงสามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันขยายผลใช้กับโรงพยาบาลแล้ว 13 โรงพยาบาล 1 วิสาหกิจเพื่อสังคม ครอบคลุม 12 จังหวัดทั่วไทย พร้อมตั้งเป้าขยายอีก 10 โรงพยาบาล ใน 10 จังหวัด ภายในปี 2567

 

สนับสนุนสังคมคาร์บอนต่ำ

ผ่านโครงการ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ ความร่วมมือบูรณาการระหว่างรัฐ-เอกชน-ประชาชน (PPP: Public-Private-People Partnership) เปลี่ยนจังหวัดสระบุรีให้เป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย ช่วยให้ประเทศไทยบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2608 ความร่วมมือในสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ที่เกิดขึ้นแล้ว อาทิ การกำหนดใช้ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำในทุกงานก่อสร้างในจังหวัดสระบุรี ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป การทำนาเปียกสลับแห้ง ช่วยลดการใช้น้ำ ลดก๊าซมีเทน การปลูกหญ้าเนเปียร์พืชพลังงานสูง และนำของเหลือจากการเกษตรและขยะชุมชนไปแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน รวมทั้งร่วมกับชุมชนในการสร้างป่าชุมชนต้นแบบ ของจังหวัดที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก และต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สร้างรายได้ให้ชุมชน”